การดื่มน้ำเปล่า มีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด
การดื่มน้ำเปล่า
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายของเราต้องการในแต่ละวัน เพื่อดูแลอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ด้วยสภาวะปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ความเร่งรีบในการใช้ชีวิต การทำงานหรือกิจกรรมที่เราต้องจดจ่อสมาธิมากเป็นพิเศษจนทำให้หลงลืมที่จะดูแลตัวเอง เช่นอย่างการกินอาหารเช้าเป็นประจำ การออกกำลังกาย รวมไปถึงการดื่มน้ำ เพราะคิดว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวค่อยทำ หรือผลัดผ่อนไปเรื่อย ๆ เพราะกำลังยุ่งกับงานตรงหน้า แต่เมื่อเราหลงลืมที่จะดูแลอย่างสม่ำเสมอ ภัยเงียบในรูปแบบของอาการเจ็บป่วยอาจมาหาคุณโดยไม่รู้ตัว
ข้อดีของการดื่มน้ำเปล่า
การดื่มน้ำช่วยร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดื่มน้ำตอนเช้าจะช่วยให้สมองได้รับการกระตุ้นหลังจากตื่นนอน เพิ่มสมาธิในการเริ่มวันใหม่
ดื่มน้ำก่อนทานอาหาร 30 นาที จะช่วยให้ทานอาหารได้น้อยลง และย่อยง่ายขึ้น
ดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหารช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดน้ำหนัก สำหรับใครที่อยากลดน้ำหนัก การดื่มน้ำมีส่วนช่วยในการกระบวนการเผาผลาญไขมันได้ดี
การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการร่างกาย มีส่วนช่วยให้ลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพราะน้ำนั้นจะเข้าไปด
ความหนืดข้นของเลือด ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดของเราไหลเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดื่มน้ำช่วยให้ผิวของเรามีความชุ่มชื้น สุขภาพดี
ข้อเสียการไม่ดื่มน้ำเปล่า
รู้สึกไม่สดชื่น สาเหตุเป็นเพราะ เมื่อเราไม่ดื่มน้ำตามความเหมาะสมที่ร่างกายต้องการ สมองของเราก็จะขาดน้ำไปด้วย ทำให้การคิด ประมวลผล รวมไปถึงการสั่งการของสมองไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ก็จะช้าลง และเลือดของเรายังมีความเข้มข้นสูง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ปวดกระดูกและข้อ สาเหตุนั้นเป็นเพราะร่างกายของเราต้องการน้ำไปหล่อเลี้ยงอวยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นข้อเข่าหรือหมอนกระดูกต่างก็ต้องการไปหล่อเลี้ยงทั้งสิ้น เมื่อเราไม่ดื่มน้ำได้เท่าตามความต้องการ การทำงานของระบบข้อต่าง ๆ ก็เกิดปัญหาขึ้นตามมาด้วย
เป็นริดสีดวงทวาร สาเหตุเพราะเมื่อระบบเดินทางอาหารขาดน้ำในปริมาณที่ต้องการ การคัดกรองของเสียออกไปจากร่างกาย ก็มีน้ำเป็นส่วนน้อยตามไปด้วย ทำให้อุจจาระของเรานั้นแข็งและแห้ง เมื่อถึงเวลาขับถ่ายอาจทำให้เกิดการอักเสบของบริเวณทวารหนัก เป็นริดสีดวงทวารได้เช่นกัน
ที่มา : โรงพยาบาลเปาโล