เป็นความดันสูง-ต่ำควรทำอย่างไร

 
 
 

ความดันต่ำ และ ความดันสูง หลายคนอาจจะมองว่าโรคเหล่านี้เป็นเรื่องไกลตัว แต่ถ้าหากคุณกำลังรู้สึกปวดหัวบ่อยคล้ายโรคไมเกรน ปวดตึงที่ต้นคอ บางครั้งก็หน้ามืด เลือดกำเดาก็ไหล ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ล่ะก็ คุณอาจจะเป็นโรคความดันต่ำหรือความดันสูงแล้วล่ะค่ะ ซึ่งเราสามารถเช็กค่าความดันได้ ด้วยเครื่องวัดความดัน โดยค่าความดันโดยปกติ จะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้หากเป็นความดันต่ำจะอยู่ที่ 90/60 มิลลิเมตรปรอทลงไป หากความดันสูงจะวัดค่าได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

การเตรียมตัวเพื่อวัดความดันโลหิต

ก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ กาแฟ ไม่ผ่านการออกกำลังกาย และไม่มีภาวะทางอารมณ์ เช่น โมโห โกรธ เครียด เป็นต้น 

  • พักก่อนทำการตรวจวัดความดันเป็นเวลา 5-15 นาที

  • ควรปัสสาวะก่อนทำการวัดความดัน 

  • ไม่ควรพูดคุยมากเกินไปในขณะที่ทำการวัดความดัน

อาการของความดันโลหิตต่ำ

  • เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมกะทันหัน

  • ใจเต้นแรง ใจสั่น

  • ตาพร่าเบลอ

  • คลื่นไส้

  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

  • กระหายน้ำ

นอกจากนี้ยังมีอาการหน้ามืดเมื่อมีการเปลี่ยนท่านั่ง หรือท่ายืนกะทันหัน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการป้องกันได้ด้วยการยกศีรษะสูงขณะนอน และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดอาการแย่ลง เช่น การนอนนาน ๆ การลุก หรือนั่งอย่างรวดเร็ว การอาบน้ำอุ่นจัด 

การดูแลร่างกายเมื่อความดันโลหิตต่ำ

  • หากมีอาการควรนั่งพัก หรือนอนลงทันทีโดยพยายามยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมอง

  • หลีกเลี่ยงการยืน หรือนั่งนาน ๆ 

  • หลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในเวลากลางคืน และพยายามลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

  • เคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายในช่วงเช้าเพื่อกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้เพิ่มมากขึ้น อาจเป็นการไขว้ขา หรือบิดตัว เป็นต้น 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการนอนดึก เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตต่ำลง

สาเหตุของการเกิดความดันโลหิตสูง

ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงมักตรวจไม่พบสาเหตุ แต่หากมีการตรวจพบมักมีสาเหตุมาจากโรคหรือภาวะอื่นๆ เช่น โรคไต หลอดเลือดแดงตีบ หลอดเลือดไตตีบ เกิดเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต และเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงเช่น การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารเค็มมากเกินไป 

การดูแลร่างกายเมื่อความดันโลหิต

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

  • หลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ 

  • หลีกเลี่ยงของหมักดอง

  • ดูแลสุขภาพจิตให้เป็นปกติ ไม่เครียด ผ่อนคลาย

  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง