เครื่องช่วยหายใจ มีประโยชน์อย่างไร
ไวรัสโควิด-19 เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ โดยเชื้อไวรัสจะมุ่งเข้าทำลายปอด รวมไปถึงการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายปอด ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะอยู่ในภาวะวิกฤต เครื่องช่วยหายใจจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล หากมีเครื่องช่วยหายใจที่เพียงพอ จะเป็นการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตสำหรับผู้ป่วยภาวะวิกฤติ
เครื่องช่วยหายใจเป็นอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจที่ส่งผลกระทบต่อปอด รวมไปถึงโรคปอดอักเสบ และปอดบวมด้วย ซึ่งเครื่องจะถูกใช้เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีภาวะการหายใจล้มเหลว โดยจะมีการหายใจถี่ขึ้น ค่าคาร์บอนได้ออกไซด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น การแลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอดลดลดน้อยลง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการชักและสลบได้
ประโยชน์ของเครื่องช่วยหายใจ
ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีระบบทางเดินหายใจผิดปกติ หายใจได้ดีขึ้น เพราะระบบการทำงานของเครื่องช่วยหายใจ ใกล้เคียงการหายใจของคนปกติ
ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีปัญหาทางเดินหายใจมีโอกาสกลับมาหายใจได้เป็นปกติ
ช่วยส่งเสริมการรักษาและฟื้นตัวของผู้ป่วย
ประเภทของเครื่องช่วยหายใจ
เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่อง Cpap (Continuous Positive Airway Pressure) คือ เครื่องช่วยหายใจประเภทควมคุมด้วยแรงดันประเภทหนึ่ง ที่ใช้รักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันสองระดับ Bipap (Bi-level Positive Airway Pressure) นิยมใช้กับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจที่ยังสามารถหายใจด้วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง
เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตร (Volume Controlled Ventilator) ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจขั้นรุนแรง ผู้ป่วยที่ต้องใช้ท่อเจาะคอ (Invasive ventilation) รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้