ซื้อนมอย่างไรให้ปลอดภัย

 
ซื้อนมอย่างไรให้ปลอดภัย.jpg
 
 

          นมอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ที่ทุกเพศทุกวัยสามารถดื่มได้และมีให้เลือกหลายประเภท มารู้วิธีการเลือกซื้อให้เหมาะกับความต้องการของตนเองกันดีกว่า

          วิธีเลือกซื้อนม

          - ดูวัตถุประสงค์และความต้องการในการดื่มนม ได้แก่ คุณค่าทางโภชนาการ ย่อยง่าย ให้พลังงานและไขมันต่ำ รสชาติที่ถูกใจ

          - ตรวจสอบผลิตภัณฑ์นม โดยอ่านข้อมูลบนฉลาก

          - สังเกตฉลาก ข้อมูลต้องครบถ้วน ได้แก่ ชื่ออาหาร, ชื่อที่ตั้งผู้ผลิต, ผู้แบ่งบรรจุ, ปริมาณสุทธิ, ส่วนประกอบสำคัญ วันเดือนปี ที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ

          - ภาชนะบรรจุต้องสภาพเรียบร้อย ไม่รั่ว ไม่ซึม ไม่บวม ไม่ฉีกขาด

          - เลือกนมที่มีเครื่องหมายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น

          - เลี่ยงการซื้อนมจากร้านค้าที่จำหน่ายแบบไม่เหมาะสม คือ ตู้แช่ หรือสถานที่เก็บไม่ได้มาตรฐาน

          การเก็บรักษานมแต่ละประเภท

          - นมพาสเจอร์ไรส์ ซื้อมาแล้วเก็บในตู้เย็นทันที ดื่มแล้วเหลือก็ให้เก็บในตู้เย็น เก็บได้นานประมาณ 10 วันที่อุณหภูมิ 25 °C นับจากวันที่บรรจุ ในกรณีที่ต้องการเก็บไว้ดื่มอีก ควรเทแบ่ง ไม่ดื่มจากภาชนะบรรจุ โดยตรงซึ่งจะทำให้นมบูดง่าย

          - นมยูเอชที เก็บไว้ที่อุณหภูมิปกติ ไม่ควรให้โดนแดดโดยตรง ไม่เก็บซ้อนหลายชั้นเกินไป เก็บได้นานประมาณ 6 เดือน

          - นมเปรี้ยว ควรเก็บในตู้เย็น เก็บได้นานกว่านมประเภทอื่น

          - นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ ถ้าเก็บในอุณหภูมิ 10-12°C จะเก็บได้นานถึง 21 วัน

          - นมเปรี้ยวพร้อมดื่มยูเอชที เก็บได้ประมาณ 8 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็น

          - นมสเตอริไลซ์ (กระป๋อง) เก็บได้นานประมาณ 12 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็น แต่ไม่ควรให้โดนแดดโดยตรง

          นมพร่องมันเนยต่างกับนมขาดมันเนยอย่างไร?

          นมพร่องมันเนย เป็นนมที่รีดจากแม่วัว และแยกมันเนยออกเพียงบางส่วน มีส่วนประกอบของไขมันไม่เกิน 15% เหมาะสำหรับคนที่มีไขมันในเลือดสูงหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ส่วนนมขาดมันเนย เป็นนมที่รีดจากแม่วัว และแยกมันเนยออกเกือบหมด เรียกกันว่า “หางนม” เป็นนมที่มีสารอาหารครบทุกตัวยกเว้นไขมันและวิตามินบางชนิดที่ละลายในไขมัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งนมทั้งสองประเภทไม่เหมาะสำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี เพราะการเจริญเติบโตของสมองจำเป็นต้องใช้ไขมันเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ