4 ตัวช่วยเพื่อการลดหวานให้สำเร็จ

 
newstechace_4 ตัวช่วยเพื่อการลดหวานให้สำเร็จ.jpg
 
 

           การที่เราควบคุมตนเองได้ดีจะเป็นกุญแจสำคัญไปสู่การควบคุมตัวเองให้ ลดหวานได้สำเร็จ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก ลองใช้ตัวช่วยดังนี้

           ตัวช่วยที่ 1 : ฝึกควบคุมตัวเองให้เก่ง

           หายใจด้วยท้อง การหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ ช่วยให้จิตใจและร่างกายสงบ ลงสามารถจัดการกับสิ่งยั่วใจได้ดีขึ้น มีความอดทนอดกลั้นมากขึ้น และเพิ่มสมาธิ ไม่วอกแวก เราจึงควรฝึกหายใจด้วยท้องให้เป็นนิสัยคืนละ 20 ลมหายใจเพื่อจะ เพิ่มความสามารถในการควบคุมตนเอง

           ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายเพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้ควบคุม ตัวเองได้ดีขึ้น ใช้เวลาออกไปหาของหวานน้อยลงจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้น ออกกำลัง กายเพียง 5 นาทีก็ให้ประโยชน์แล้ว

           ไม่อดนอน การอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้อยากกินของหวานมากขึ้น ควรเข้านอนและตื่นให้เป็นเวลา เพราะหากอดนอนจะทำให้ควบคุมตัวเองได้ น้อยลง และจัดการกับสิ่งยั่วใจหรือของหวานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

           ตัวช่วยที่ 2 : ปรับพฤติกรรมการกิน

           แยกความหิวและความอยากให้ออก ระหว่างความรู้สึกอยากกิน ความหิว หรือความอยากจากสาเหตุอื่น โดยเฉพาะสาเหตุทางอารมณ์เช่น เหนื่อย กังวล โกรธกดดัน ความรู้สึกเหล่านี้อาจกระตุ้นให้เราอยากกิน ทั้งที่ไม่ได้หิวจึงต้องฝึก ให้รู้เท่าทันอารมณ์

           ฝึกความเคยชินใหม่ให้ดีกว่าเดิม สร้างนิสัยการกินอาหารเช้าดื่มน้ำเปล่าและ ตักอาหารในปริมาณที่เหมาะสม

           สังเกตรูปแบบการกินของตนเอง ว่ามีแนวโน้มการกินที่ไม่ถูกต้องในสถานการณ์ ไหน อยู่ในบรรยากาศเช่นไรจึงทำให้กินของหวานมาก และตั้งเป้าหมาย การกินที่เหมาะสมในสถานการณ์นั้น

           ฝึกกินของที่ชอบให้พอดี ของที่ชอบแต่มีผลเสียต่อสุขภาพควรกินในปริมาณ น้อย เช่น ตักเค้กให้คำเล็กลง กลืนช้าๆ และกินในปริมาณน้อย ควรตักแบ่งส่วน ที่จะกินให้พอเหมาะตั้งแต่ต้นก่อนเริ่มกิน

           ตัวช่วยที่ 3 : ปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย

           อย่ารอจนกว่าพร้อมจึงลงมือทำ ให้ถือหลัก “ทำได้แค่ไหน ให้ทำแค่นั้น” เพราะการรอจนกว่าจะพร้อมมักทำให้ไม่ได้เริ่มต้น อาจเข้าร่วมกลุ่มออกกำลังกายหรือมีสัตว์เลี้ยงสักตัวเพื่อเพิ่มโอกาสในการออกกำลังกาย

           เคลื่อนไหวทุกครั้งที่มีโอกาส เช่น เดินขึ้นลงบันไดแทนการขึ้นลิฟต์ทำงานบ้านจอดรถไว้ไกลตึกเพื่อจะได้มีโอกาสเดินมากขึ้น ขยันลุกยืดเหยียดระหว่างทำงาน

           อย่าออกกำลังกายเกินตัวหรือฝืนสภาพร่างกาย เพราะอาจทำให้บาดเจ็บ ปวดเมื่อย กลับเป็นการทำโทษตนเอง ทำให้ไม่อยากทำอีกในครั้งหน้า เน้นออกกำลังกายแล้วรู้สึกสนุกไปด้วย

           ตัวช่วยที่ 4 : ปรับพฤติกรรมการจัดการอารมณ์

           หมั่นสังเกตและเรียนรู้อารมณ์ตนเอง ว่าอะไรที่ทำให้เครียดเวลาที่เครียดมีอาการ อย่างไร ตนเองมีแนวโน้มใช้วิธีอะไรในการจัดการความเครียด วิธีที่ใช้ให้ผล อย่างไร เมื่อมีเรื่องทำให้เครียด ให้แยกให้ออกระหว่างอารมณ์ความเครียด ซึ่งเป็นเรื่องภายในและปัญหาที่ทำให้เครียดซึ่งเป็นเรื่องภายนอก

           อย่าปฏิเสธความรู้สึกของตัวเอง ตระหนักว่าอารมณ์ทุกชนิดเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อม คลายลงไปตามเวลาการพยายามปฏิเสธหรือกำจัดอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง กลับทำให้เราติดกับอารมณ์นั้นมากยิ่งขึ้น

           ยอมรับในเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ ปัญหาบางอย่างเราควบคุมแก้ไขได้ควรลงมือ ทำเลยทันทีแต่ถ้าปัญหาบางอย่างเราควบคุมไม่ได้ก็ควรทำใจยอมรับ การหายใจ คลายเครียดช่วยคลายอารมณ์ให้สงบลง ทำให้ทำใจยอมรับสภาพปัญหาได้ดีขึ้น

           มีจุดหมายชีวิตชัดเจน เพราะจะช่วยให้เราอดทนและฝ่าฟันความยากลำบาก ความเครียดต่างๆ ในชีวิตได้ดีขึ้น

               

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ