จมูกไม่ได้กลิ่น ความผิดปกติที่ใครก็เป็นได้

 
จมูกไม่ได้กลิ่น ความผิดปกติที่ใครก็เป็นได้.jpg
 
 

          จมูกไม่ได้กลิ่นส่งผลต่อการใช้ชีวิตในด้านของสุนทรียภาพ ผู้ป่วยที่ประสบปัญหานี้จะขาดความสุขในการรับกลิ่น การสัมผัสกับรสชาติอาหาร ทั้งยังขาดการรับรู้ถึงอันตรายต่าง ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยง อาทิ กลิ่นแก๊สรั่ว กลิ่นไฟไหม้ เป็นต้น จึงถือเป็นปัญหาสำคัญที่ควรรู้ เพราะปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากปฏิบัติตนให้อยู่ในความเสี่ยง ที่ส่งผลต่อประสาทสัมผัสในการรับกลิ่น

สาเหตุของปัญหาจมูกไม่ได้กลิ่น

  1. การอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก โพรงไซนัส ทำให้กลิ่นขึ้นไม่ถึงปลายประสาทรับกลิ่น

  2. เนื้องอกอุดกลั้น ทำให้กลิ่นขึ้นไม่ถึงปลายประสาทรับกลิ่น

  3. อุบัติเหตุที่ศีรษะที่ทำให้ปลายประสาทอักเสบ บาดเจ็บ หรือฉีกขาด ส่งผลต่อการได้กลิ่นที่ลดลง หรืออาจไม่ได้กลิ่นเลย

  4. การได้รับสารเคมีบางอย่างที่ทำลายการรับกลิ่น อาทิ การได้รับกลิ่นฟอร์มาลีนเป็นเวลานาน อาจทำให้ปลายประสาทอักเสบและตายลงบางส่วน ส่งผลให้การรับกลิ่นลดลงหรือไม่ได้กลิ่นเลย

  5. ผิดปกติทางพันธุกรรม อาจไม่มีปลายประสาทรับกลิ่นหรือมีความผิดปกติที่ปลายประสาทรับกลิ่น

  6. อายุที่เพิ่มขึ้นและโรคทางสมองบางชนิด

บริเวณที่ส่งผลต่อการรับกลิ่นในกรณีอุบัติเหตุที่ศีรษะ

  • หน้าผาก

  • ท้ายทอย

ลักษณะอาการจมูกไม่ได้รับกลิ่น

  • เฉียบพลัน มักเกิดจากอุบัติเหตุ บางรายเกิดทันทีหลังผ่าตัด

  • เรื้อรัง มักเกิดจากการอักเสบที่เยื่อบุโพรงจมูก เนื้องอก การได้รับสารเคมี อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อาการค่อย ๆ ดำเนินไป

วิธีการรักษา

  • อาการที่สามารถรักษาได้ คือ เกิดจากการอักเสบ หวัด ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น รวมถึงภาวะอุดกั้นที่สามารถเอาออกได้ เช่น เนื้องอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย หากอุดกั้นเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ปลายประสาทไม่ทำงานเป็นเวลานานไปด้วย และอาจฟื้นตัวช้าหรือไม่สมบูรณ์

  • ไม่สามารถรักษาได้ คืออุบัติเหตุที่ทำให้เส้นประสาทฉีกขาดไป

การป้องกันอาการจมูกไม่ได้กลิ่น

  1. ระวังอย่าให้เยื่อโพรงจมูกบวม หากเป็นหวัดหรือไซนัสอักเสบให้รีบรักษา

  2. รักษาสุขภาพสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

  3. หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่ศีรษะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

 
support techace