ปัจจัยที่มักทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ

 
ปัจจัยที่มักทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ.jpg
 
 

          พฤติกรรมที่เคยชินและทำจนติดเป็นนิสัยโดยไม่รู้ตัว บางพฤติกรรมส่งผลเสียต่อสุขภาพ บุคลิกภาพ จิตใจ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ลองมาดูกันว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มักทำให้เกิดพฤติกรรมผิด ๆ

          1. สังคม เพื่อนฝูง บางครั้งหลายคนนิยมทำพฤติกรรมต่าง ๆ ตามเพื่อนฝูง เช่น สูบบุหรี่ตามเพื่อน เสพติด การไปงานปาร์ตี้กับกลุ่มเพื่อนบ่อย ๆ หรือแชทคุยกันจนดึกทำให้นอนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

          2. ค่านิยม ค่านิยม คือ ทัศนะของคนหรือสังคมที่มีต่อสิ่งของ ความคิด และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสุข ความต้องการต่าง ๆ ค่านิยมบางอย่างของบางสังคมก็อาจจะขัดแย้งกับค่านิยมของอีกสังคมหนึ่ง เช่น อาจจะมีกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่นิยมกินชานมไข่มุกตาม ๆ กันจากรสชาติและกระแสนิยม แต่บางกลุ่มอาจไม่นิยมเพราะรู้สึกว่าไม่ดีต่อสุขภาพ

          3. ความเชื่อ บางคนสร้างความเชื่อผิด ๆ ขึ้นมาเพื่อเอาใจร่างกาย เช่น เมื่อรู้สึกเครียดหรือเหนื่อยล้ามักดื่มน้ำหวานหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก และเชื่อว่าช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง หรือเลือกสูบบุหรี่เพราะคิดว่าช่วยให้คลายเครียดได้ทันใจ

          4. สิ่งเร้ารอบตัว บางคนตื่นเต้นกับโปรโมชั่นทางการตลาดต่าง ๆ เช่น โปรโมชั่นลดราคาอาหารบุฟเฟต์ ทำให้อดใจไม่ไหวต้องกินบ่อย ๆ หรือติดการดูซีรีย์เรื่องโปรดจนดึกดื่น อยู่ท่ามกลางกลุ่มเพื่อนที่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การอยู่ในเทศกาลเฉลิมฉลองต่าง ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ที่ทำร้ายสุขภาพได้ง่าย เช่น ดื่มแอลกอฮอล์บ่อย นอนน้อย ชอบกินแต่อาหารปิ้งย่าง ทอด ฯลฯ

          5. การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ด้วยความรีบเร่งในชีวิตประจำวัน อาจทำให้คุ้นชินกับการทำอะไรง่าย ๆ สะดวกรวดเร็วอย่าง การกินอาหารฟาสต์ฟูดส์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยกว่าอาหารปกติทั่วไป หรือลืมแบ่งเวลาสำหรับการออกกำลังกาย

          6. อารมณ์ อารมณ์ทางลบต่าง ๆ เช่น ความกลัว ความอาย ความเศร้า ความโกรธ ความรังเกียจ ความรู้สึกผิด เป็นต้น มักส่งผลต่อพฤติกรรมที่ทำขึ้นเพื่อหลีกหนี เก็บกดหรือขัดขวางอารมณ์นั้น ๆ ไม่ให้มีมากขึ้นหรือแสดงออกมา ส่วนอารมณ์ทางบวกนั้นมักเกี่ยวข้องกับการหลั่งของสารสื่อประสาทโดปามีนในสมองที่ ทำให้เกิดพลังงานและส่งผลให้มีความสุขมากขึ้น เหมือนการได้รับรางวัล ดังนั้นบางครั้งการทำพฤติกรรมบางอย่างแล้วเกิดความพึงพอใจและมีความสุข จึงทำให้ร่างกายทำาามพึงพอใจและมีความสุข จึงทำาำา ๆ2/2019พฤติกรรมเหล่านั้นซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง จน บางครั้งกลายเป็นการเสพติดการกระทำไปเลย

          ลองหันกลับมาสำรวจพฤติกรรมที่เคยชินของตนเอง มีพฤติกรรมที่เสี่ยงอยู่หรือไม่ หาสาเหตุและหยุดการกระทำเหล่านั้น เพื่อสุขภาพและการใช้ชีวิตที่ดีกว่า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ