เบาหวาน คุมได้

Slide38.jpg

เบาหวาน คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ เป็นโรคยอดฮิตที่พบได้ในผู้สูงวัย โดยเฉพาะคนที่มีอายุ 60–79 ปี ซึ่งมีความชุกในการเกิดโรคอยู่ที่ร้อยละ 19.2 (60–69 ปี) และ 18.8 (70–79 ปี) เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาให้ให้ขาดได้ แต่สามารถควบคุมได้ ไปพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังอาการ ดูแลและควบคุมอาการด้วยตนเอง ทั้งการกินอาหาร ออกกำลังกาย การกินยา รวมถึงการฉีดอินซูลิน(สำหรับผู้ป่วยบางราย)
      ขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานใช้เวลาไปพบหมอเฉลี่ยประมาณปีละ 4 ครั้ง มีเวลาพบแพทย์และรับคำปรึกษาประมาณ 1 ชม./ครั้ง เท่ากับ 4 ชม./ปี นั่นเท่ากับว่า คนไข้ต้องใช้เวลาที่เหลือทั้งหมดเกือบตลอด 365 วัน ในการดูแลและควบคุมอาการของโรคเบาหวานด้วยตนเอง
แต่จากข้อมูลของรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกาย ปี 2557 พบว่า กลุ่มคนที่เป็นเบาหวานและสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีนั้น ยังมีไม่มาก ซึ่งจากรายงานฯ ดังกล่าว สามารถแบ่งกลุ่มผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. เป็นเบาหวาน(ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือด ≥ 126 มก./ดล.) แต่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์มาก่อน พบมากสุดในกลุ่มอายุ 15–29 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 30–44 ปี ทั้งหญิงและชาย และมีสัดส่วนลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ยกเว้นผู้ชายอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป กลับมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 51 และเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ชายในทุกกลุ่มอายุ มีสัดส่วนคนที่ไม่ได้รับการตรวจเบาหวานสูงกว่าผู้หญิง

  2. เคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นเบาหวาน แต่ไม่เคยรับการรักษากลุ่มนี้มีไม่มากนัก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง(ยกเว้นกลุ่มอายุ 30–44 ปี) กลุ่มที่พบมากสุดคือ ผู้ชายอายุ 80 ปีขึ้นไป

  3. ได้รับการรักษา แต่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือด ≥ 130 มก./ดล.) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเมื่อเทียบในกลุ่มที่มีอายุเดียวกัน และพบมากในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยกลุ่มที่มีสัดส่วนมากสุดคือ ผู้หญิงอายุ 80 ปีขึ้นไป

  4. ได้รับการรักษา และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือด <130 70="" 79="" 60="" 69="" 45="" 59="" 70="" 79="" span="">

     จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่า มี 2 กลุ่มที่น่าเป็นห่วง คือ กลุ่มที่ 1 : เป็นเบาหวาน แต่ไม่รู้ตัวว่าเป็น จึงไม่ได้รับการรักษา พบมากในคนที่มีอายุน้อย เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และอีกกลุ่มที่สำคัญ คือ ผู้ชายที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป กลุ่มที่ 2 : รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน ได้รับการรักษาแล้ว แต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาจสืบเนื่องมาจาก ผู้หญิงมีสัดส่วนที่เข้ารับการตรวจเบาหวานมากกว่าผู้ชาย แต่ปัญหาสำคัญคือ ยังควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะคนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ทั้งหญิงและชาย 
     เบาหวานเป็นแล้วไม่หาย ทางรักษาที่ดีที่สุดคือการควบคุมระดับน้ำตาล ถ้าไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ผลร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นตามมามีทั้งโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคหลอดเลือดส่วนปลายจนแผลเรื้อรัง ผู้ป่วยหลายรายถึงขั้นต้องตัดเท้า ฉะนั้น การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ต้น ร่วมกับการดูแลและจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล จึงเป็น 2 โจทย์สำคัญที่ต้องช่วยกันขบคิด เพื่อตัดวงจรของเบาหวาน ก่อนที่จะลุกลามไปสู่โรคอื่น