ดื่มน้ำน้อย ทำให้เกิด “ภาวะเลือดข้น” จริงหรือไม่?

 
 
 

ภาวะเลือดข้น คือภาวะที่เลือดมีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงสูงผิดปกติ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้ยากกว่าปกติ และเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการ อาทิ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ  คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อ่อนแรง การมองเห็นผิดปกติ หน้าแดงผิดปกติ เหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอก แต่ก็มีบางกลุ่มที่ไม่ได้มีอาการนำใดๆ มาก่อนเลย แต่ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจเลือด CBC (Complete Blood Count)

การดื่มน้ำน้อย ทำให้เกิด “ภาวะเลือดข้น” จริงหรือไม่?

ไม่จริง เนื่องจากภาวะเลือดข้นมักเกิดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ แม้ว่าในภาวะที่ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรงอาจจะทำให้เลือดข้นขึ้นกว่าปกติได้ แต่การดื่มน้ำน้อยเพียงอย่างเดียว จะไม่ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง ทำให้มีอาการ ง่วงซึม อ่อนเพลีย ผิวแห้ง ตาแห้ง ปากแห้ง  ท้องผูก ปวดศีรษะ ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ ชีพจรเต้นเร็ว หายใจถี่ หอบถี่

ปริมาณน้ำดื่มที่พอเหมาะ 

ในคนปกติ ร่างกายจะมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อรักษาสมดุลได้เป็นอย่างดี หากดื่มน้ำอย่างน้อย 500-600 ซีซี และไม่เกิน 3-4 ลิตรต่อวัน ร่างกายก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ จึงไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลเรื่องการดื่มน้ำจนเกินไป  แนะนำให้ดื่มน้ำวันละประมาณ 1-2 ลิตรต่อวัน


ที่มา : PPTV